จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตารางการผันคำคุณศัพท์

ตารางการผันคำคุณศัพท์

<ย้อนกลับ
ตารางการผันคำกริยารูปて

<ย้อนกลับ

ตารางผันกริยารูปます

ตารางการผันคำกริยารูปます

<ย้อนกลับ

คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์
คำคุณศัพท์ เป็นคำอิสระที่สามารถผันได้ ใช้เป็นภาคแสดงเพื่ออธิบายลักษณะหรือสภาพต่างๆ ของประธานหรือคำนาม ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นนั้น จะวางคำคุณศัพท์ไว้หน้าคำนามเสมอ เมื่อนำมาขยายคำนามและสามารถจบประโยคได้เมื่ออยู่ในภาคแสดง

ประเภทของคำคุณศัพท์

1. คำคุณศัพท์จะลงท้ายด้วย い เช่น うつくしい : สวย たかい: สูง さむい : หนาว

2.คำกริยาคุณศัพท์จะลงท้ายด้วย な เช่น きれいな: สวย しずかな: เงียบ せけつな : สะอาด

ตัวอย่างประโยคและรูปประโยค

1.カリナさんはきれいです.คุณคาริน่าสวย
2.イーさんはひまじゃありません.คุณอีไม่ว่าง
คำคุณศัพท์ なเวลาทาให้อยู่ในรูปปฏิเสธจะเป็น รูป なじゃありません
3.ファクスはべんりですか.เครื่องแฟกซ์สะดวกไหมครับ ...
はい、とてもべんりです.อืม .. สะดวกมากเลย
とてもมีความหมายว่า “มาก” ... ใช้กับรูปประโยค “บอกเล่า”
5.つめたいぎゅうにゅうを飲みました.ดื่มนมเย็น
คำคุณศัพท์สามารถวางได้สองตาแหน่ง คือ “ท้ายประโยค” กับใช้ “ขยายคานาม” กรณีถ้านามาขยาย “คานาม” ... คาคุณศัพท์ い ยังคงใช้รูปเดิม
6.すてきなプレゼントをもらいました.ได้รับของขวัญที่สุดวิเศษล่ะ
แต่ถ้านาคุณศัพท์ な มาขยายคานาม ... จะต้องอยู่ในรูป “ คุณศัพท์な[な]” เสมอ
7.ふじさんはきれいな山ですか.ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาที่สวยไหม ...
はい、とてもきれいな山です.อื้อ เป็นภูเขาที่สวยมาก...


------------------------------------------------------------------------

บทเรียน
แบบทดสอบ


คำนาม

คำนาม ในภาษาญี่ปุ่น
คือคำอิสระที่ไม่สามารถผันได้ เป็นคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ สามารถนาไปเป็นประธานของประโยคได้ แบ่งออกเป็น

1. คำสามัญนาม เป็นคำใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของทั่วไป เช่น
やま: ภูเขา かわ : แม่น้า ひと : คน) とり : นก
2. คำวิสามัญนาม เป็นคาที่เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
ふじやま: ภูเขาฟูจิ とうきょうタワー : หอโตกียว
3. ตัวเลข จำนวน เพื่อบอกจำนวน ปริมาณ หรือลำดับ เช่น
いちねん: หนึ่งปี) ふたつ : สองชิ้น
さんい: ที่สาม いくつ : เท่าไร
คำนามตัวเลขและจำนวน แตกต่างจากคำนามประเภทอื่น คือสามารถจัดเป็นคำขยายคำแสดง คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
かんじを 3つ かきます
kanji o mitsu kakimasu
4. ときめいしเป็นคำนามแสดงเวลา ซึ่งถือเป็นคำขยายคำแสดง คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
いま : ขณะนี้ はる : ฤดูใบไม้ร่วง さっき : เมื่อสักครู่
5. คำนามที่มีแต่รูปฟอร์ม เป็นคำที่แทบจะไม่มีความหมายในตัวเอง เป็นเพียงการเหลือไว้ตามไวยากรณ์เพื่อใช้คู่กับคำช่วยขยายคำนามเท่านั้น เช่น
こと (koto) ため (tame) もの (mono) ほど (hodo) ころ (koro)
คาเหล่านี้เดิมจะเขียนด้วยคันจิ แต่ปัจจุบันโดยทั่วไปจะเขียนด้วยฮิรางานะ ยกตัวอย่างเช่น
てがみをかくこと がにがてです tegami o kaku koto ga nigate desu เขียนจดหมายไม่เก่ง
6. คำนามที่แปลงรูปมา เป็นคำนามที่แปลงมาจากคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ เช่น
かんがえ: ความคิด) ちかく : ที่ใกล้ๆ) しろ : สีขาว)


คำสรรพนาม
เป็นคำนามชนิดหนึ่ง ทาหน้าที่ใช้แทนคำนามในการชี้คน สัตว์ สิ่งของ ประกอบด้วย
1. คำสรรพนามบุคคล ( 人代名詞 : jindaimeishi ) เป็นคาใช้แทนบุคคล เช่น
私 (watashi : ฉัน ผม ข้าพเจ้า) あなた (anata : เธอ คุณ) かれら (karera : เขาเหล่านั้น) だれ (dare : ใคร)
2. คำสรรพนามบ่งชี้ ( 指示代名詞 : shiji daimeishi ) เพื่อใช้แทนเรื่องราว สิ่งของ สถานที่ และทิศทาง เช่น
これ (kore : อันนี้) それ (sore : อันนั้น) あれ (are : อันโน้น) どれ (dore : อันไหน) あちら (achira : ทางนั้น)

หน้าที่ของคำนาม
1. เป็นประธานของประโยค
ソムチャイさん はタイ人です Somuchai san wa taijin desu คุณสมชาย เป็นคนไทย
2. เป็นภาคแสดงในประโยค
その人は ソムチャイさん です。 Sono hito wa Somuchai san desu คนนั้นคือ คุณสมชาย
3. เป็นคำขยายในประโยค
ここは ソムチャイさん の家です。 Koko wa Somuchai san no ie desu ที่นี่คือบ้านของ คุณสมชาย
4. เป็นคำอิสระในประโยค
ソムチャイさん、かれは私のともだちです。 Somuchai san, kare wa watashi no tomodachi desu คุณสมชาย เขาเป็นเพื่อนของฉัน

------------------------------------------------------------- 

บทเรียน 

คำกริยารูป て

การผันคำกริยารูป て     

          คำกริยารูป て มักจะใช้ในประโยคภาษาญี่ปุ่นระดับต้นค่อนข้างมาก เนื้อจากสามารถใช้เชื่อมประโยคที่ต่อเนื่องกันได้ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้แสดงสภาพของกริยาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้นได้อีกด้วย รวมไปถึงรูปประโยคขอร้อง หรือคำสั่งแบบสุภาพ

ตัวอย่างประโยคต่าง ๆ ที่ใช้คำกริยารูป て

1.レポートをかいてください.กรุณาเขียนรายงาน
คากริยารูป て ください โปรด/กรุณา... , ช่วย... , เชิญ...
เป็นสานวนการขอร้อง แนะนา ชักชวน

2.もう少しゆっくりはなしてください.กรุณาพูดช้ากว่านี้อีกนิด

3.タクシーをよびましょうか. เรียกแท๊กซี่ให้เอาไหมครับ
...ええ、2だいよんでください.อื้อ.. ช่วยเรียกให้สองคันนะคับ
คากริยารูป ます ましょうか กันไหม , ...ให้เอาไหม
เป็นสานวนที่ผู้พูดอยากช่วยอะไรบางอย่างให้กับผู้ฟัง

4.ミラーさんはなにをしていますか.คุณมิร่ากาลังทาอะไรอยู่
...シュミットさんとなしています.กาลังคุยอยู่กับคุณสุมิท

5. のびたさんは あさ シャワーを浴びて、ご飯をたべて、かいしゃへいきました。คุณโนบิตะ ตอนเช้า อาบน้า กินข้าว แล้วจึงมาทางาน

         ซึ่งหลักในการผันคำกริยารูป てจะมีความแตกต่างจากการผันคำกริยารูป ますอยู่ แต่ยังคงแบ่งวิธีการผันกริยา เป็น 3 กลุ่มเช่นเดิม (ไปยังตารางการผันคำกริยารูปて)


 ----------------------------------------------------------------------
บทเรียน

คำกริยา



คำกริยา

บทเรียนที่ 1. เรื่องคำกริยา

การผันคากริยา รูปต่าง ๆ ในภาษาญี่ปุ่น
          คำกริยา ในภาษาญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากภาษาไทย เนื่องจาก มีการผันคำกริยาในรูปต่าง ๆ ตามโครงสร้างของไวยากรณ์ เพื่อใช้สื่อความหมายและสื่อสารได้ถูกต้องในแต่ละรูปประโยค ซึ่งมีความแตกต่างกันไป แต่ในภาษาไทย ไม่มีการผันคำกริยา แต่จะใช้คำบอกเวลา ในการสื่อความหมายที่เป็นอดีต แทน หรือ สิ่งที่กาลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันหรืออนาคต เป็นต้น
         ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เรื่องการผันคำกริยา เพื่อนาไปใช้ในการสร้างประโยคให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และสามารถนามาใช้สร้างบทสนทนาหรือเขียนเรียงความหรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้
 

ประเภทของคากริยา

คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. คำกริยากลุ่มที่ 1
คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2
2. คำกริยากลุ่มที่ 2
คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1)
3. คำกริยากลุ่มที่ 3
คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ くる (kuru) และ する (suru)

             คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีการผันเป็นหลายรูป เช่น รูปพจนานนุกรม รูป อดีต รูปปติเสธ แต่ส่วนใหญ่ นักเรียนจะได้เรียนรู้คำกริยา รูป ます มากกว่า ดังนั้น ผู้เรียนจึงควรใช้ตารางในการผันคำกริยา ประกอบในการเรียนรู้เพื่อที่จะฝึกผันคำกริยาในกลุ่มต่าง ๆ ให้ถูกต้อง

(ตารางการผันคำกริยารูป ます)

ตัวอย่างประโยค

1.わたしはごはんをたべます。ฉันกินข้าว
2.わたしはごはんをたべません。ฉันไม่กินข้าว
3.わたしはごはんをたべました。ฉันกินข้าวแล้ว
4.わたしはきのうごはんをたべませんでした。 เมือวานฉันไม่ได้กินข้าว
------------------------------------------------------------------
บทเรียน  
คำกริยารูปて

บทเรียนบนเว็บวิชาภาษาญี่ปุ่น

บทเรียนบนเว็บ วิชาภาษาญี่ปุ่น เรื่อง คำนาม คำคุณศัพท์และคำกริยา

บทเรียนนี้สร้างขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น 
ระดับมัธยมปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์)


  1. บทเรียนเรื่องคำกริยา
  2. บทเรียนเรื่องคำนาม
  3. บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์

เมื่อนักเรียน ศึกษาบทเรียนครบเรียบร้อยแล้ว จะมีแบบทดสอบอยู่ในท้ายบทเรียน
ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบอนไลน์ นักเรียนสามารถทำได้ทันที