จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำกริยา

บทเรียนที่ 1. เรื่องคำกริยา

การผันคากริยา รูปต่าง ๆ ในภาษาญี่ปุ่น
          คำกริยา ในภาษาญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากภาษาไทย เนื่องจาก มีการผันคำกริยาในรูปต่าง ๆ ตามโครงสร้างของไวยากรณ์ เพื่อใช้สื่อความหมายและสื่อสารได้ถูกต้องในแต่ละรูปประโยค ซึ่งมีความแตกต่างกันไป แต่ในภาษาไทย ไม่มีการผันคำกริยา แต่จะใช้คำบอกเวลา ในการสื่อความหมายที่เป็นอดีต แทน หรือ สิ่งที่กาลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันหรืออนาคต เป็นต้น
         ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เรื่องการผันคำกริยา เพื่อนาไปใช้ในการสร้างประโยคให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และสามารถนามาใช้สร้างบทสนทนาหรือเขียนเรียงความหรือเรื่องราวต่าง ๆ ได้
 

ประเภทของคากริยา

คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. คำกริยากลุ่มที่ 1
คือคำที่ลงท้ายด้วยเสียง u แต่ไม่รวมถึงคำที่ลงท้ายด้วยเสียง iru และ eru จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2
2. คำกริยากลุ่มที่ 2
คือคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง iru หรือ eru (เว้นแต่คำบางคำที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1)
3. คำกริยากลุ่มที่ 3
คือคำที่มีวิธีการผันเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งมีเพียง 2 คำ คือ くる (kuru) และ する (suru)

             คำกริยาในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีการผันเป็นหลายรูป เช่น รูปพจนานนุกรม รูป อดีต รูปปติเสธ แต่ส่วนใหญ่ นักเรียนจะได้เรียนรู้คำกริยา รูป ます มากกว่า ดังนั้น ผู้เรียนจึงควรใช้ตารางในการผันคำกริยา ประกอบในการเรียนรู้เพื่อที่จะฝึกผันคำกริยาในกลุ่มต่าง ๆ ให้ถูกต้อง

(ตารางการผันคำกริยารูป ます)

ตัวอย่างประโยค

1.わたしはごはんをたべます。ฉันกินข้าว
2.わたしはごはんをたべません。ฉันไม่กินข้าว
3.わたしはごはんをたべました。ฉันกินข้าวแล้ว
4.わたしはきのうごはんをたべませんでした。 เมือวานฉันไม่ได้กินข้าว
------------------------------------------------------------------
บทเรียน  
คำกริยารูปて

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น