คือคำอิสระที่ไม่สามารถผันได้ เป็นคำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ สามารถนาไปเป็นประธานของประโยคได้ แบ่งออกเป็น
1. คำสามัญนาม เป็นคำใช้เรียกคนสัตว์สิ่งของทั่วไป เช่น
やま: ภูเขา かわ : แม่น้า ひと : คน) とり : นก
2. คำวิสามัญนาม เป็นคาที่เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น
ふじやま: ภูเขาฟูจิ とうきょうタワー : หอโตกียว
3. ตัวเลข จำนวน เพื่อบอกจำนวน ปริมาณ หรือลำดับ เช่น
いちねん: หนึ่งปี) ふたつ : สองชิ้น
さんい: ที่สาม いくつ : เท่าไร
คำนามตัวเลขและจำนวน แตกต่างจากคำนามประเภทอื่น คือสามารถจัดเป็นคำขยายคำแสดง คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
かんじを 3つ かきます
kanji o mitsu kakimasu
4. ときめいしเป็นคำนามแสดงเวลา ซึ่งถือเป็นคำขยายคำแสดง คือสามารถใช้กับคำแสดงได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
いま : ขณะนี้ はる : ฤดูใบไม้ร่วง さっき : เมื่อสักครู่
5. คำนามที่มีแต่รูปฟอร์ม เป็นคำที่แทบจะไม่มีความหมายในตัวเอง เป็นเพียงการเหลือไว้ตามไวยากรณ์เพื่อใช้คู่กับคำช่วยขยายคำนามเท่านั้น เช่น
こと (koto) ため (tame) もの (mono) ほど (hodo) ころ (koro)
คาเหล่านี้เดิมจะเขียนด้วยคันจิ แต่ปัจจุบันโดยทั่วไปจะเขียนด้วยฮิรางานะ ยกตัวอย่างเช่น
てがみをかくこと がにがてです tegami o kaku koto ga nigate desu เขียนจดหมายไม่เก่ง
6. คำนามที่แปลงรูปมา เป็นคำนามที่แปลงมาจากคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ เช่น
かんがえ: ความคิด) ちかく : ที่ใกล้ๆ) しろ : สีขาว)
คำสรรพนาม
เป็นคำนามชนิดหนึ่ง ทาหน้าที่ใช้แทนคำนามในการชี้คน สัตว์ สิ่งของ ประกอบด้วย
1. คำสรรพนามบุคคล ( 人代名詞 : jindaimeishi ) เป็นคาใช้แทนบุคคล เช่น
私 (watashi : ฉัน ผม ข้าพเจ้า) あなた (anata : เธอ คุณ) かれら (karera : เขาเหล่านั้น) だれ (dare : ใคร)
2. คำสรรพนามบ่งชี้ ( 指示代名詞 : shiji daimeishi ) เพื่อใช้แทนเรื่องราว สิ่งของ สถานที่ และทิศทาง เช่น
これ (kore : อันนี้) それ (sore : อันนั้น) あれ (are : อันโน้น) どれ (dore : อันไหน) あちら (achira : ทางนั้น)
หน้าที่ของคำนาม
1. เป็นประธานของประโยค
ソムチャイさん はタイ人です Somuchai san wa taijin desu คุณสมชาย เป็นคนไทย
2. เป็นภาคแสดงในประโยค
その人は ソムチャイさん です。 Sono hito wa Somuchai san desu คนนั้นคือ คุณสมชาย
3. เป็นคำขยายในประโยค
ここは ソムチャイさん の家です。 Koko wa Somuchai san no ie desu ที่นี่คือบ้านของ คุณสมชาย
4. เป็นคำอิสระในประโยค
ソムチャイさん、かれは私のともだちです。 Somuchai san, kare wa watashi no tomodachi desu คุณสมชาย เขาเป็นเพื่อนของฉัน
-------------------------------------------------------------
บทเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น